รวม 9 โปรแกรมทำเว็บ Portfolio ออนไลน์ ใช้งานง่าย ไม่ต้องเขียนโค้ด

โปรแกรมทำเว็บ Portfolio ออนไลน์

อยากทำเว็บพอร์ทโฟลิโอของตัวเอง ทางนี้ เรามี โปรแกรมทำเว็บ portfolio ออนไลน์ เอาไว้รวบรวมและโชว์ผลงาน จะนำไปใช้สมัครงาน หรือจะใช้หาลูกค้าออนไลน์ก็ดีไม่น้อยเลย เชื่อว่าเหล่านักออกแบบทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นสายงานกราฟฟิกดีไซน์เนอร์ เว็บดีไซน์เนอร์ นักออกแบบแฟชั่น นักออกแบบโมชั่น และอีกหลายสาขา ส่วนใหญ่แล้วก็อยากที่จะทำอาชีพอิสระ หรือฟรีแลนซ์ ทำงานตามแบบของตัวเอง ไม่ต้องเข้าระบบงานออฟฟิศ สามารถจัดสรรตารางงานเองได้ มีไลฟ์สไตล์ตามที่ตัวเองต้องการ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย การสร้างเว็บพอร์ทโฟลิโอดีๆ ให้ตัวเองสักอันน่าจะช่วยให้ลูกค้าได้เห็นศักยภาพของเรา และอยากร่วมงานกับเราได้ไม่น้อย ถือว่าเป็นอีกหนึ่งเรื่องสำคัญที่จำเป็นต้องมีเลยทีเดียว

Plaradise รับทำเว็บไซต์ WordPress โดยนักออกแบบมืออาชีพ

9 โปรแกรมทำเว็บ portfolio ออนไลน์ ใช้งานง่าย

เว็บ portfolio ออนไลน์ ในยุคปัจจุบันถือเป็นสิ่งจำเป็นในการประกอบอาชีพสำหรับนักออกแบบอย่างมาก เพราะเว็บพอร์ทโฟลิโอคือสิ่งที่บ่งบอกความสามารถของเรา สไตล์งาน และคุณภาพของงานได้เป็นอย่างดี ยิ่งทุกวันนี้ การหางานยิ่งเน้นหนักไปในทางออนไลน์มากขึ้นด้วย แถมยังสามารถเป็น Global Citizen ได้ คือไม่จำเป็นต้องหางานจากลูกค้าที่เป็นคนไทยเพียงอย่างเดียว แต่ยังสามารถเปิดตลาดเมืองนอกได้ด้วย อย่างเช่น การมีเว็บพอร์ทโฟลิโอออนไลน์เป็นภาษาอังกฤษ การอัพผลงานเอาไว้ที่ Community หรือ Social Media สำหรับดีไซน์เนอร์ เพื่อให้คนเห็นผลงานของเราได้มากขึ้น ไปดูกันค่ะว่ามีที่ไหนกันบ้าง

1. Cargo

โปรแกรมทำเว็บ portfolio ออนไลน์

แพลตฟอร์มสำหรับทำเว็บพอร์ทโฟลิโอมาใหม่ ใช้งานง่ายสุดๆ มีเทมเพลทให้เลือก มีฟ้อนท์พรีเมียมจาก Dinamo and Type Network และมีเสียงประกอบงานเว็บ มาให้เลือกใช้หลากหลายแนวด้วย น่าสนใจทีเดียวค่ะ มีแพคเกจให้ใช้ฟรีสำหรับนักศึกษาและองค์กรไม่แสวงผลกำไรด้วยนะ ส่วนคนทั่วไปราคาเริ่มต้นที่เดือนละ 14 ดอลล่าร์

  • ข้อดี : User Friendly ใช้งานง่าย หน้าตาน่าใช้
  • ข้อเสีย : ไม่ฟรี ราคาเริ่มต้นที่เดือนละ 14 ดอลล่าร์

2. WordPress

แพลตฟอร์มสำหรับทำเว็บไซต์ เว็บพอร์ทโฟลิโอ สามารถทำทุกอย่างได้ตามใจ เริ่มต้นใช้งานฟรี มี Theme ให้เลือกมากมาย ชอบใจอันไหนก็ไปใช้อันนั้นได้เลย WordPress นั้นมีฐานผู้ใช้งานมากกว่า 5 ล้านคน แบรนด์ดังเจ้าใหญ่ก็ใช้แพลตฟอร์มนี้ในการสร้างเว็บไซต์ นอกจากนี้แล้วที่ WordPress ยังเป็นมิตรกับ Google มากๆ ด้วยค่ะ ใครเน้นการทำ SEO ก็ต้องใช้เวิร์ดเพรส

  • ข้อดี : เป็นแพลตฟอร์มที่เปิดกว้างมากๆ เราสามารถปรับแต่ง ใส่ลูกเล่นต่างได้อย่างเต็มที่โดยใช้ปลั๊กอิน และสามารถปรับแต่งหน้าตาได้ตามใจชอบ ใส่ข้อมูลได้ไม่จำกัดจำนวน
  • ข้อเสีย : ต้องมีพื้นฐานการใช้เว็บเล็กน้อย เริ่มเรียนรู้จากคอร์สเรียนทำเว็บนี้เลยค่ะ

ส่วนตัวมองว่าการใช้ WordPress ทำเว็บพอร์ทโฟลิโอ ช่วงแรกอาจจะยากหน่อยและมีต้นทุน ดูเพิ่มเติมที่นี่ แต่จะดีมากๆ ในระยะยาว

ตัวอย่างเว็บพอร์ทโฟลิโอ WordPress

we.workoncloud.co

napat.plaradise.com

3. Webflow

โปรแกรมทำเว็บ portfolio ออนไลน์

อีกหนึ่งแพลตฟอร์มทำเว็บพอร์ทโฟลิโอที่มาช่วยตอบโจทย์คนไม่มีสกิลด้านการทำเว็บไซต์ และยังเป็นที่นิยมในหมู่นักออกแบบด้วย เพียงแค่ลากและวาง ปรับแต่งได้ง่าย ไม่ต้องเรียนรู้เรื่องโค้ด ก็มีเว็บผลงานของตัวเองได้

  • ข้อดี : เริ่มต้นใช้งานได้ฟรี แต่ต้องใช้เป็นโดเมน Webflow และมีข้อจำกัดในการใช้งาน
  • ข้อเสีย : เบสิคแพคเกจราคา 14 ดอลล่าร์ ต่อเดือน ใครไหวก็ลองดูนะ แล้วก็ต้องเรียนรู้การใช้งานสักระยะ

อ่านเพิ่มเติม 10 เทรนด์ออกแบบเว็บไซต์ 2023 ที่น่าสนใจ

4. Readymag

ที่นี่เป็นอีกทางเลือกในการทำเว็บพอร์ทโฟลิโอ ใช้งานได้ฟรี 1 โปรเจ็กท์ แต่ถ้าอยากได้เป็นชื่อโดเมนของตัวเองก็ต้องเสียเงินเพิ่ม ราคาเริ่มต้นที่เดือนละ $13.50

  • ข้อดี : ประหยัดเวลาในการทำเว็บ ใช้งานง่าย มีแบบให้เลือกเยอะ
  • ข้อเสีย : เป็นระบบปิด หากต้องการฟังก์ชั่นเพิ่มเติม หรือมีการปรับแต่งจุดต่างๆ เพื่อเพิ่มความเร็วของเว็บ อาจทำไม่ได้

อ่านเพิ่มเติม ขั้นตอนทำ เว็บพอร์ทโฟลิโอ สำหรับชาวฟรีแลนซ์

5. Adobe Portfolio

แพลตฟอร์มทำเว็บ Portfolio ของ Adobe ที่สร้างขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์กลุ่มคนทำงานสร้างสรรค์ และมีการใช้งานแพคเกจสินค้าในเครือ Adobe อยู่เป็นประจำ อย่างเช่น Photoshop, Illustrator , Lightroom เป็นต้น ก็สามารถใช้งาน Adobe Portfolio ได้ฟรี แต่ถ้ายังไม่ได้เป็นลูกค้าของ Adobe ก็สามารถใช้งานได้ในราคา $9.99 ต่อเดือน และยังได้ใช้ Photoshop+Lightroom ไปด้วย นอกจากนี้แล้วยังสามารถดึงข้อมูล Portfolio มาจาก Behance ได้ และมีฟ้อนท์จาก Adobe ให้ใช้ได้ด้วย

  • ข้อดี : ใช้งานร่วมกับเครือข่าย Adobe ได้เป็นอย่างดี เหมาะกับงานภาพถ่าย
  • ข้อเสีย : ต้องเป็นลูกค้าของ Adobe มีเทมเพลทจำกัด และไม่ค่อยเหมาะกับการทำ SEO

6. Behance

Behance สร้างขึ้นโดยบริษัท Adobe เราสามารถเข้าไปทำการสมัครสมาชิก จากนั้นก็อัพรูปผลงานของเรา พร้อมทั้งบอกเล่าเรื่องราวของผลงานที่เราทำไว้ได้เลย ใส่ผลงานได้ไม่จำกัด ใช้งานได้ฟรี นอกจากนี้แพลตฟอร์มนี้ทำหน้าที่เป็นเหมือน Social Media และเป็น Community ให้กับเหล่าดีไซน์เนอร์ และคนในสายงานสร้างสรรค์ ทั้งหลายด้วย เราสามารถไปกดถูกใจผลงงานของคนอื่นๆ ได้ คอมเม้นท์งานได้ และคนในนั้นก็แวะเข้ามาดูผลงานของเราได้ด้วยเช่นกัน

  • ข้อดี : ใช้งานได้ฟรี ไม่ต้องเป็นลูกค้า Adobe ก็ใช้ได้
  • ข้อเสีย : เทมเพลทการใช้งานไม่สามารถปรับแต่งได้

7. Dribbble

ที่ดริบเบิ้ลเป็นเว็บสำหรับนักออกแบบทุกสาขา โดยเฉพาะสาย UX/UI กราฟฟิก เว็บดีไซน์เนอร์ มีงานสวยๆ ใช้ได้จริงให้ดูเป็นตัวอย่างมากมาย และยังเป็นตลาดสำหรับการจ้างงานนักออกแบบด้วย มีทั้งดีไซน์เนอร์ฝีมือดี ไปจนถึงระดับเอเจนซี่ ซึ่งงานที่ได้ก็ต้องอยู่ในระดับพรีเมียมแน่นอน แต่ที่นี่ค่อนข้างจะเข้าถึงยากสักหน่อย โดยเราต้องมีเพื่อนส่ง Invitation มาให้ก่อนถึงจะเข้าไปอัพผลงานได้ แต่ตอนนี้ทางแพลตฟอร์มเค้าก็ได้ปรับนโยบายเพิ่มเป็นแบบใช้เงินแก้ปัญหาได้ โดยการสมัคร Dribbble Pro เดือนละ 5 ดอลล่าร์ เพื่อเข้าไปใส่ผลงานและเพิ่มโอกาสในการหางานจากลูกค้าผ่านทางที่นี่ได้

  • ข้อดี : ใช้งานฟรี ถ้ามีคอนเน็คชั่น สามารถโปรโมทตัวเองเพื่อหาลูกค้าที่นี่ได้เลย
  • ข้อเสีย : เทมเพลทการใช้งานไม่สามารถปรับแต่งได้

8. Carbon Made

อีกหนึ่งโปรแกรมที่สร้างขึ้นมาเพื่อรองรับการทำเว็บพอร์ทโฟลิโอโดยเฉพาะ ที่นี่มีคนใช้งานแล้วกว่า 2 ล้านเว็บ ทดลองใช้งานได้ฟรี แต่ถ้าเราต้องการให้มัน Live ก็ต้องเสียเงิน ราคาเริ่มต้นที่ $9 ต่อเดือน มีทีมซัพพอร์ตคอยช่วยเหลือ นอกจากนั้นแล้วที่นี่ยังเป็น Community ของนักออกแบบด้วย เมื่อสร้างเว็บพอร์ทโฟลิโอกับที่นี่แล้วก็ยังสามารถเข้าร่วมอยู่ในลิสต์ของตลาดนักออกแบบได้ด้วย คล้ายๆ กับการใช้งาน Dribbble แต่ดีกว่าตรงที่เราสามารถมีเว็บพอร์ทโฟลิโอแยกเป็นของตัวเองได้

  • ข้อดี : เป็นทั้งพื้นที่สร้างเว็บพอร์ทโฟลิโอ และเป็นตลาดนักออกแบบในที่เดียว มีฐานข้อมูลของผู้ใช้งานเยอะ
  • ข้อเสีย : แบบฟรีมีข้อจำกัด ใช้งานได้ไม่หลากหลาย ถ้าต้องการฟังก์ชั่นเพิ่มเติมต้องเสียเงินแพงขึ้น

9. Format

โปรแกรมทำเว็บ portfolio ออนไลน์ Format หลักการทำงานคล้ายกับของเจ้าอื่นๆ แต่ราคาเริ่มต้นถูกกว่า เริ่มที่ $4 ต่อเดือน ที่นี่มีผู้ใช้งานกว่า 450,000 เว็บไซต์ สามารถอัพเกรดเพื่อเปิดใช้งานฟังก์ชั่นต่างๆ เพิ่มเติมได้ น่าสนใจไม่แพ้เจ้าอื่นๆ เลย และทีเด็ดคือ ที่นี่มีตลาดขายงานปริ๊นท์ของตัวเอง สำหรับคนที่ชอบวาดภาพ ถ่ายภาพ มีงานอาร์ทสวยๆ สามารถเอาไปลงขายผ่านตลาดได้เลย แถมยังเป็นระบบ Automatic global fulfillment คือ เราทำภาพอย่างเดียว ที่เหลือทาง Format จัดการให้ ตั้งแต่ปริ๊นท์งาน ผลิตสินค้า ส่งของไปยังผู้รับ น่าสนใจมากๆ

  • ข้อดี : สามารถอัพเกรด หรือดาวน์เกรดการใช้งานได้ มีตลาดขายสินค้าแบบครบวงจร
  • ข้อเสีย : เทมเพลทไม่ค่อยหลากหลาย

สรุป วิธีเลือกใช้ โปรแกรมทำเว็บ portfolio ออนไลน์

แพลตฟอร์มสำหรับทำเว็บพอร์ทโฟลิโอมีอยู่หลายตัวที่น่าสนใจ ซึ่งแต่ละเจ้าก็จะตอบโจทย์การใช้งานได้ไม่เหมือนกัน การเลือกว่าจะใช้งานที่ไหนดี เราอาจจะต้องดูที่ความต้องการและจุดประสงค์ของเราเป็นหลักก่อน อย่างเช่น ต้องการมีเว็บพอร์ทของตัวเองเอาไว้ชื่นชมเอง ต้องการมีพื้นที่เก็บงานออนไลน์แบบง่ายๆ หรือต้องการเว็บแบบ Professional สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับตัวเอง อีกข้อคือต้องถามตัวเองว่ามีงบประมาณเท่าไหร่ในการทำเว็บพอร์ทโฟลิโอ เพราะเว็บที่ใช้งานได้จริงๆ อาจจะไม่ได้ฟรีอย่างที่คิดก็ได้

  • เริ่มต้น : สำหรับคนที่อยากมี Portfolio Online แบบง่ายสุด ไม่เสียเงิน ไปใช้ Behance ได้เลย
  • อยากดูโปรแบบมืออาชีพ : มีงบประมาณ 2,000-5,000 บาท พอมีความรู้ด้านการทำเว็บ แนะนำให้ใช้ WordPress
  • มีฐานะ เวลาน้อย : งบ 5,500 บาทขึ้นไป ต่อปี แนะนำ Cargo Collective, Webflow, Carbon Made, Readymag

อยากมีเว็บแต่ไม่มีเวลาทำเอง ดูบริการทำเว็บ Portfolio ออนไลน์กับ Plaradise ได้ที่นี่ค่ะ