วิธีการ สร้างแบรนด์ออนไลน์ อย่างง่าย 2023 ไม่ยุ่งยาก

วิธีสร้างเว็บพอร์ทโฟลิโอให้ปัง

จุดประสงค์ที่อยากให้ทุกคน สร้างแบรนด์ออนไลน์ ของตัวเองนั้นก็เริ่มมาจากแนวคิดการทำ Personal Branding นั่นเอง คือการที่คุณสามารถสร้างตัวตนบ่งบอกว่าคุณมีความสามารถอะไรบ้าง แล้วเรื่องราวเหล่านั้นจากประสบการณ์และความรู้ของคุณสามารถเป็นประโยชน์ให้กับคนในสังคมได้อย่างไร ซึ่งเราไม่ได้จะมาชวนทำเล่นๆ แต่เราอยากให้ตัวแบรนด์นั้นสร้างรายได้ได้ด้วย โดยที่ตัวโปรดักท์หรือเซอร์วิสที่จะสร้างกันต่อไปมาจากสิ่งที่คุณรู้และเชี่ยวชาญ แต่ผู้อื่นไม่รู้

ขั้นตอน สร้างแบรนด์ออนไลน์

Service

จะ สร้างแบรนด์ออนไลน์ ก็ต้องมีตัวเว็บไซท์ที่ทำหน้าที่เหมือนออฟฟิศทำงานของคุณ ซึ่งจะบอกรายละเอียดว่าคุณเป็นใคร เคยทำงานอะไร มีผลงานแบบไหนบ้าง มีเนื้อหาข้อมูลเกี่ยวกับอะไร ซึ่งถ้าเราใช้โซเชี่ยลเพียงอย่างเดียวอาจจะไม่สามารถให้ข้อมูลได้ครบถ้วนได้ ดังนั้นเราจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมี เว็บไซท์ด้วย ขั้นตอนง่ายๆที่ต้องทำก็มีดังต่อไปนี้

1.สร้าง Branding

การมองหาข้อดีจากความสามารถเฉพาะทางของเรา หรือเริ่มมองหาจากงานอดิเรกที่เราชอบทำและรักมันมากจนสามารถทำไปเรื่อยๆเป็นเวลานานๆได้ บางคนอาจจะเป็นดีไซน์เนอร์ ช่างภาพ นักท่องเที่ยว คนชอบทำขนม หรืออาจจะมีความเฉพาะทางในสายอาชีพใดอาชีพหนึ่งเช่น นักบัญชี นักกฎหมาย วิศวกร ครู แล้วก็คิดดูว่าลักษณะพิเศษของเราเป็นแบบไหน เราอยากให้ตัวแบรนด์ของเรานั้นสะท้อนสิ่งเหล่านี้ออกมาอย่างไร ผลิตภัณฑ์และเซอร์วิสประเภทไหนที่เหมาะจะสร้างรายได้ผ่านตัวเว็บไซท์ได้ ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ใจความสำคัญเลยทีเดียว

นอกจากการหาความสามารถเฉพาะทางของตัวเองแล้ว เราก็ต้องโยงไปถึงเรื่องแนวคิดหลัก วัตถุประสงค์ ภาพลักษณ์ที่เราจะสื่อสารออกไปให้คนข้างนอกเห็น ที่มันมีอะไรมากกว่าแค่ชื่อและโลโก้ เช่นว่าเราจะทำอะไร ขายใคร ขายยังงัย จากนั้นก็ต้องมีการสร้าง Style Guide, Mood Board เพื่อให้ทุกเรื่องราวเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

2.คิดชื่อแล้วก็จดโดเมนเนม

ชื่อที่จะใช้ลองคิดแบรนด์ คิดคอนเซ็ปท์ของงานที่จะทำให้ชัดก่อนว่าจะเป็นเรื่องราวประมาณไหน ให้เริ่มคิดจากกลุ่มคำที่สื่อถึงงานที่เราอยากจะทำกับเว็บไซท์นี้ในอนาคต ดูตัวอย่างเพิ่มเติมได้จาก >>> 5 ไอเดีย เว็บบล็อกจาก Ted Talk แล้วก็คิดชื่อเผื่อไว้เยอะๆหน่อยนะคะ เพราะบางทีชื่อเว็บที่เราคิดว่าเจ๋งสุด เก๋สุด ก็ดันมีเจ้าของแล้ว อย่างเช่น freemonday.com, beinglawyer.com โดยชื่อต่อท้ายแนะนำให้ใช้ .com นะคะเพราะมันค่อนข้างเป็นสากลสุด ถ้าใครคิดชื่อสุดเจ๋งของตัวเองได้แล้ว และกลัวว่าจะมีคนมาแย่งไป ก็ตามมาจดกันที่เว็บนี้เลยค่ะ >>> www.godaddy.com ปกติแล้วเราจดกับที่นี่เป็นส่วนใหญ่เพราะเค้าชอบมีโปรโมชั่นส่วนลดมาให้เรื่อยๆ ราคาที่เราซื้อหนึ่งชื่อโดเมนอยู่ที่ประมาณ 400 บาทต่อปี แต่เราต้องมาตั้งค่าโดเมนให้เชื่อมกับโฮสท์เองนะคะ ส่วนในกรณีที่ไม่อยากจะวุ่นวายก็ลองใช้ของที่ >>> www.hostatom.com  ทั้งจดโดเมนและเช่าโฮสท์ได้ในที่เดียวกันไปเลย

3.เช่าโฮสท์ที่เสถียรและมีบริการที่ดี

โฮสติ้งที่ดีจะมีลักษณะดังนี้คือ มีความเสถียร ไม่ล่มบ่อยๆ มีการบริการลูกค้าตลอดเวลาเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นและพร้อมที่จะช่วยเหลือ อีกข้อที่อยากจะบอกคือโฮสติ้งที่ให้บริการอยู่นั้นมีทั้งของคนไทยและของต่างชาติ ที่อยากแนะนำคือให้ใช้บริการกับโฮสติ้งไทยดีกว่า เมื่อเกิดปัญหาขึ้นก็สามารถพูดคุยให้เข้าใจกันง่ายกว่ามาก

เว็บนี้และเว็บบล็อกที่เรามีเราใช้บริการของ >>> www.hostatom.com

ซึ่งที่นี่มีทั้งบริการจดโดเมนและบริการโฮสติ้งในที่เดียวกัน จะได้ไม่ต้องวุ่นวายในการตั้งค่า Server กับโดเมนให้เชื่อมโยงกัน

4.เลือก Theme สำหรับตกแต่งเว็บไซท์

เมื่อเรามีจุดประสงค์ที่แน่ชัดแล้วว่าต้องการทำเว็บไซท์เพื่ออะไร เราก็มาเลือกดู theme ที่เหมาะสมกับการใช้งาน เราขอเน้นไปที่ Theme ที่ใชสำหรับเน้นการ สร้างแบรนด์ดิ้ง และการทำ เว็บบล็อก เป็นหลัก เพราะจะมีความซับซ้อนน้อยกว่าเว็บช็อปปิ้ง จองโรงแรมนะคะ ซึ่งแต่ละ Theme ก็มีวิธีการใช้งานที่ไม่เหมือนกันส่วนตัวเราขอแนะนำ Theme ที่ใช้งานง่ายอย่าง >>> Flatsome สามารถตกแต่งให้สวยงามตรงตามความต้องการได้เลย

ข้อนี้ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญมาก ที่เมื่อเราลองเข้าไปที่หน้าแรก ถ้าเราเข้าใจได้เลยในทันทีว่าเว็บนี้ต้องการบอกอะไร ใช้งานง่ายไม่สับสนก็แสดงว่าเจ้าของเว็บประสบความสำเร็จในการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้ใช้งาน

5.ใส่ข้อมูล เนื้อหาของเว็บไซท์ลงไปให้พร้อม

เมื่อเราได้ข้อสรุปของ Theme แล้ว ก็เริ่มลงมือเอารูปภาพและเนื้อหามาใส่ในเว็บได้เลย ในเว็บไซท์จะนั้นประกอบไปด้วยหน้าหลักอย่าง Home About Blog Contact Shop/Service และเพื่อไม่ให้เสียเวลาเราควรจะเขียนข้อมูลที่เราอยากจะเอาลงเว็บไซท์เพื่อเป็นประโยชน์กับกลุ่มลูกค้าของเราก่อน จะได้ไม่วุ่นวาย เช่น About คือ ที่มาที่ไปของเว็บ เจ้าของเป็นใครมีรูปภาพประกอบเพื่อให้ลูกค้ามีความไว้ใจและให้เค้าได้ทำความรู้จักกับเราด้วย หน้า Contact ก็ใส่ข้อมูลการติดต่อลงไป เป็นต้น ซึ่งเรามีรายละเอียดของทุกหน้าเพจอยู่ในบทความนี้ >>> ตัวอย่างเว็บไซท์ที่มีประสิทธิภาพ

6.เขียนบทความ SEO

จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรู้เรื่องการเขียนบทความที่มีประโยชน์ มีการใส่ Keyword ใส่ลิงค์เชื่อมโยงบทความทั้งจากภายในเว็บไซท์ของเราเองและภายนอก นอกจากนี้เราก็ต้องทำความรู้จักกับคำว่า SEO หรือ Search Engine Optimization คือการปรับแต่งเว็บไซท์ให้ติดอันดับการค้นหาโดยเฉพาะบน Google และสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้สำหรับการทำเว็บไซท์นั้นก็คือการอัพเดทบทความอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้คนที่แวะเวียนเข้ามาเห็นว่าเว็บไซท์ของเรามีชีวิตและทำให้เค้าอยากจะซื้อสินค้าและเซอร์วิสของเรา

7.โปรโมทเว็บไซท์ผ่านช่องทางออนไลน์ต่างๆ

เมื่อเราอัพข้อมูลทุกอย่างลงบนเว็บไซท์แล้วถ้าเราไม่โปรโมท ก็ยากที่จะมีคนเข้ามาเห็นเพราะคนส่วนใหญ่ถ้าไม่ใช่แฟนคลับหรือเห็นว่าเว็บนั้นมีประโยชน์กับเค้าจริงๆก็เป็นไปไม่ได้เลยที่เค้าจะตั้งใจเข้ามาหาเรา เพราะฉะนั้นเราก็ต้องเพิ่มความขยันอีกนิดนึงในการโปรโมทบทความต่างๆที่เราเขียนขึ้น อย่างเช่น การใช้โซเชี่ยลมีเดียช่วยเผยแพร่ การฝาก Backlink ตามกรุ๊ปหรือเว็บบอร์ดที่เกี่ยวข้องเพื่อเรียกทราฟฟิกให้คนตามกลับมาที่เว็บไซท์ของเรา

ทั้งหมดนี้คือข้อมูลที่เรารวบรวมมาให้จะได้เข้าใจหลักการและนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ บอกเลยว่ามันสำคัญจริงๆสำหรับคนในยุคนี้ ถ้าไม่อยากตกเทรนด์ก็ควรจะมีแบรนด์ออนไลน์ หรือเว็บไซท์ส่วนตัวเอาไว้ใช้งานดีกว่านะคะ

ถ้าอยากได้ตัวช่วยในการสร้างแบรนด์ออนไลน์ของตัวเอง คลิกที่นี่ได้เลยค่ะ